EdPEx : เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
ความรู้เกี่ยวกับ EdPEx
- สถาบันจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถแข่งขันได้และประสบความสำเร็จในระยะยาวในสภาวะแวดล้อมด้านการศึกษา
- การทำให้ผู้นำ ผู้บริหารแต่ละระดับ และบุุคลากรทั้งหมดเห็นภาพเดียวกัน
- การทำให้มั่นใจว่าบุคลากรเข้าใจและร่วมขับเคลื่อนสถาบันไปสู่ความสำเร็จ
- การทำความเข้าใจและตอบสนอง หรือทำได้เหนือกว่าความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นการทำให้มั่นใจว่าการดำเนินการของสถาบันมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ความสำเร็จในระยะสั้นและระยะยาว
ประเด็นข้างต้นนี้ จะส่งผลให้สามารถวางตำแหน่งสถาบันเพื่อปฏิบัติพันธกิจให้ประสบผลสำเร็จ มีความชัดเจนขึ้น และทุกกลุ่ม(ผู้นำ บุุคลากร ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น รวมทั้งคู่คามร่วมมือที่เป็นทางการที่สำคัญ) สามารถดำเนินการไปในแนวทางที่สอดคล้องกัน
- มุมมองเชิงระบบ (System perspective)
- การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ (Visionary leadership)
- ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น (Student and customer centered Excellent)
- การให้ความสำคัญกับคน (Valuing people)
- การเรียนรู้ระดับองค์กรและความคล่องตัว (Organizational learning and agility)
- การมุ่งเน้นความสำเร็จ (Focus on success)
- การจัดการเพื่อนวัตกรรม (Managing for innovation)
- การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (Management by fact)
- การสร้างประโยชน์ให้สังคม(Societal contributions)
- จริยธรรมและความโปร่งใส(Ethics and transparency)
- การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์(Delivering value and results)
เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence – EdPEx)
ใช้เกณฑ์แบบเดียวกับการประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ใช้กับระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะ เกณฑ์จะตั้งคำถามให้สถาบันพิจารณา ว่าได้ทำสิ่งเหล่านี้แล้วหรือไม่
- มีการดำเนินงานที่เป็นระบบหรือไม่
- นำระบบไปใช้อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ และทั่วถึงหรือไม่
- ติดตาม ประเมินผล เพื่อพัฒนาระบบให้ดีขึ้นหรือไม่
- ผลการปรับปรุง ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายและทิศทาง ที่มุ่งหวังหรือไม่
- ผลลัพธ์ของการปรับปรุง สร้างความยั่งยืนได้หรือไม่
คำอธิบายจากภาพข้างต้น
โครงร่างองค์กร เป็นการบ่งบอกถึงบริบท และ อธิบาย วิธีการปฏิบัติการขององค์การ สภาพแวดล้อมการดำเนินการ ความ สัมพันธ์ที่สำคัญในการปฏิบัติการและความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นแนวทางที่ครอบคลุมระบบการจัดการ การดำเนินการองค์การโดยรวม
ระบบการปฏิบัติการ
ระบบการปฏิบัติการ ประกอบด้วย การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้า การมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้า ประกอบกันเป็นกลุ่มการนำองค์การ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญว่า การนำองค์การต้องมองเน้นที่กลยุทธ์ ผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้นำระดับสูงต้องกำหนดทิศทางขององค์การ และแสวงหาโอกาสด้านการจัดการศึกษาในอนาคต การมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์ ประกอบกันเป็นกลุ่มผลลัพธ์ โดยผู้ปฏิบัติงานและกระบวนการที่สำคัญ มีบทบาททำให้การดำเนินการสำเร็จและนำไปสู่ผลการดำเนินการโดยรวมที่ดีขององค์การการปฏิบัติการทุกอย่างมุ่งสู่ผลลัพธ์ ซึ่งประกอบด้วย ผลลัพธ์ของผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลาด งบประมาณ การเงิน และผลลัพธ์ภายในองค์การโดยรวมถึงผู้ปฏิบัติงาน การนำองค์การ ธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคม
พื้นฐานของระบบ
การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้องค์การมีการจัดการที่มีประสิทธิผล และมีการปรับปรุงผลการดำเนินการ และความสามารถในการแข่งขัน โดยระบบที่ใช้ข้อมูลจริง และองค์ความรู้เป็นแรงผลักดัน การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้นี้เป็นพื้นฐานของระบบการจัดการผลการดำเนินการโดยรวม
การประเมิน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ประเมินกระบวนการ (มีแนวทางที่เป็นระบบ มีการถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ มีการเรียนรู้ มีการบูรณาการ)
- ประเมินผลลัพธ์ (แนวโน้ม การเปรียบเทียบ การบูรณาการ)
คะแนนในแต่ละหมวด (รวม 1,000 คะแนน)
- หมวด 1 การนำองค์การ 120 คะแนน
- หมวด 2 กลยุทธ์ 85 คะแนน
- หมวด 3 ลูกค้า 85 คะแนน
- หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 90 คะแนน
- หมวด 5 บุคลากร 85 คะแนน
- หมวด 6 ระบบปฏิบัติการ 85 คะแนน
- หมวด 7 ผลลัพธ์ 450 คะแนน
- การนำองค์กร : สถาบันแบ่งปันวิสัยทัศน์และนำองค์กรอย่างไรและทำให้มั่นใจถึงการกำกับดูแลสถาบันที่ดีอย่างไร
- กลยุทธ์ : สถาบันเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตอย่างไร
- ลูกค้า : สถาบันรับฟังสร้างความพึงพอใจและสร้างความผูกพันกับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นอย่างไร
- การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ : สถาบันใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ซึ่งการตัดสินใจอย่างไร
- บุคลากร : สถาบันสร้างความผูกพันและเพิ่มอำนาจการตัดสินใจให้แก่บุคลากรอย่างไร
- ระบบปฎิบัติการ : ทางสถาบันมั่นใจได้อย่างไรว่าระบบปฎิบัติการที่ใช้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลซึ่งจะทำให้สามารถจัดการศึกษาวิจัยบริการและตอบสนองต่อพันธกิจอื่นๆได้อย่างมีคุณภาพ
- ผลลัพธ์ : สถาบันดำเนินการได้ดีเพียงใด
ความเชื่อมโยงระหว่างเกณฑ์หมวดต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดมุมมองเชิงระบบของสถาบัน ตัวอย่างความเชื่อมโยงระหว่างกัน เช่น
- การเชื่อมโยงระหว่างแนวทางของสถาบันในหมวด 1 – 6 และผลลัพธ์ (หมวด 7) ที่เกิดขึ้น
- การเชื่อมโยงระหว่างการวางแผนบุคลากรกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์
- ความจำเป็นต้องมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผู้เรียนลูกค้ากลุ่มอื่นและตลาดเพื่อสร้างกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ
- เป็นการขอใช้ระบบ EdPEx ในการประกันคุณภาพการศึกษา
- กรณีมหาวิทยาลัย/หน่วยงาน จะใช้เกณฑ์ EdPEx ให้ทำเรื่องส่งเข้าสภามหาวิทยาลัยฯ เห็นชอบการใช้ระบบ แล้วจึงส่งเรื่องมายัง สกอ. หลังจากนั้น สกอ.จะมีหนังสือแจ้งกลับมา
EdPEx 200
เมื่อมหาวิทยาลัย ใช้ระบบ EdPEx V ครบ 3 ปี หรือมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ EdPEx 200 สกอ. จะประกาศแจ้งให้ส่งผู้แทนเข้าร่วมฟังชี้แจง ในเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี เพื่อให้หน่วยงานที่มีความพร้อมและประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ ฯ จะต้องส่ง โครงร่างองค์การ (OP) ไม่เกิน 5 หน้า และผลลัพธ์ในหัวข้อ 7.1 – 7.5 ไม่เกิน 5 หน้า ภายในช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อเข้าสู่ขั้นตอน การ screening ต่อไป
EdPEx 300
หากหน่วยงานผ่านการประเมิน EdPEx 200 แล้ว หน่วยงานจะต้องพัฒนาไปถึงระดับ 300 คะแนน ภายใน 4 ปี และระหว่าง 4 ปีนั้น จะมีการลงพื้นที่ให้คำปรึกษาก่อนการประเมินระดับ 300 คะแนน
- ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย โดยผ่านการพิจารณาความพร้อมและความเหมาะสมในการเลือกใช้เกณฑ์ EdPEx เป็นระบบคุณภาพของหน่วยงาน
- จัดทำหนังสือจากสถาบัน พร้อมมติสภาที่ได้เห็นชอบตามข้อ 1 มายังสป.อว. เพื่อรับทราบการเลือกใช้ดังกล่าว
- ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด (Click เพื่อดูรายละเอียด)
EdPEx : คำถาม 14 ข้อที่คาใจ
แม้เกณฑ์ Baldrige จะมี 3 ฉบับ คือ ภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ภาคการดูแลสุขภาพ และภาคการศึกษา แต่ทั้ง 3 ฉบับเป็นเรื่องเดียวกัน มีหลักการต่างๆ เหมือนกันทุกประการ จะแตกต่างก็เพียงศัพท์เฉพาะสาขาเท่านั้น เช่น แทนที่จะใช้คำว่าลูกค้าเพียงอย่างเดียว ในเกณฑ์ EdPEx จะใช้คำว่า ‘ผู้เรียน’ ในหลายๆตอนด้วย สำหรับในภาคธุรกิจ ผู้รับบริการ คือ ลูกค้า ภาคสุขภาพ ผู้รับบริการ คือ ผู้ป่วย
การล้มเลิกตั้งแต่ต้น เท่ากับว่า เราหยุดการพัฒนาตนเองและสถาบัน ซึ่งจะทำให้สถาบันของเราถูกทิ้งห่างออกไปเรื่อยๆ เพราะมหาวิทยาลัยอื่นๆ จะมีพัฒนาการต่อเนื่อง และอาจจะทำให้ การอุดมศึกษาไทยมีโอกาสน้อยลงๆที่จะแข่งขันหรือได้รับการยอมรับจากนานาชาติได้เต็มที่อีกด้วย
1.เมื่อยังเพิ่งเริ่มใช้เกณฑ์ ตอบคำถามว่า ผู้นำระดับสูงนำสถาบันอย่างไร ซึ่งเป็นคำถามที่ปรากฏต่อจากหัวข้อ 1.1 ที่ตามเกณฑ์ EdPEx เรียกว่า ‘ข้อกำหนดพื้นฐาน’
2.พอเริ่มเข้าใจและมีข้อมูลในสถาบันที่ชัดเจนขึ้น ตอบคำถามว่า ให้อธิบายถึงกระทำโดยผู้นำระดับสูง ในการชี้นำและทำให้สถาบันมีความยั่งยืน รวมทั้งอธิบายวิธีการที่ผู้นำระดับสูงสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงาน และส่งเสริมให้มีผลการดำเนินการที่ดียิ่งขึ้น ที่ตามเกณฑ์ EdPEx เรียกว่า ‘ข้อกำหนดโดยรวม’
3.เมื่อเชี่ยวชาญขึ้น จึงเริ่มตอบในรายละเอียด ตามข้อ ก ข้อ ข………. ที่ตามเกณฑ์ EdPEx เรียกว่า ‘ข้อกำหนดต่างๆ ที่เป็นคำถามในแต่ละประเด็นเพื่อพิจารณา’ ซึ่งในหมวด 1.1 คือคำถามเช่น
ก. วิสัยทัศน์ ค่านิยม และพันธกิจ
(1) ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการกำหนดวิสัยทัศน์ และค่านิยมของสถาบัน และถ่ายทอดวิสัยทัศน์ และค่านิยมดังกล่าวโดยผ่านระบบการนำสถาบันไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน คู่ความร่วมมือ…………………………….. การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อค่านิยมของสถาบันอย่างไร
เกณฑ์ EdPEx นี้ใช้เพื่อการประเมินตนเอง เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือความเข้าใจ ‘ตัวตน’ ที่แท้จริงของสถาบันของเรา เพื่อจะได้พัฒนา ปรับปรุง และมุ่งสู่ทิศทางที่ถูกต้องที่สุดเท่าที่เราสามารถระบุและกระทำได้ ถ้ามีข้อมูลและประเด็นที่เราคิดว่า จำเป็นต้องรู้ ต้องบันทึกเพื่อให้เข้าใจตรงกันและเพื่อทำงานด้วยกันในทิศทางเดียวกัน ก็ควรจะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยไม่จำเป็นต้อง ‘ประพันธ์’ ยืดยาว ซึ่งอาจจะมีแต่ ‘น้ำ’ มากกว่า ‘เนื้อ’ และเสียเวลาเปล่าๆ แต่ถ้าไม่เขียนก็จะลืม แล้วก็มาตั้งต้นใหม่อีกนะคะ
หน่วยงาน EdPEx200
สถาบันอุดมศึกษาและคณะวิชาที่มีความพร้อมและมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพไปสู่ความเป็นเลิศ ที่ผ่านกระบวนการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วม"โครงการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน EdPEx 200" ดังนี้
1. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบารามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รุ่นที่ 2 พ.ศ.2557 (ปีการศึกษา 2556) จำนวน 3 หน่วยงาน
4. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รุ่นที่ 3 พ.ศ.2558 (ปีการศึกษา 2557) จำนวน 2 หน่วยงาน
7. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รุ่นที่ 4 พ.ศ.2559 (ปีการศึกษา 2558) จำนวน 4 หน่วยงาน
9. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับสถาบัน
10. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
12. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รุ่นที่ 5 พ.ศ.2560 (ปีการศึกษา 2559) จำนวน 6 หน่วยงาน
13. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
15. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
16. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
17. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
18. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รุ่นที่ 6 พ.ศ.2561 (ปีการศึกษา 2560) จำนวน 12 หน่วยงาน
19. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
21. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
22. วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
23. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
24. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
25. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
26. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
27. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
28. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
29. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
30. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รุ่นที่ 7 พ.ศ.2562 (ปีการศึกษา 2561) จำนวน 11 หน่วยงาน
31. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
32. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
33. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
35. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
36. ระดับสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
37. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
38. คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
39. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
40. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
41. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รุ่นที่ 8 พ.ศ.2563 (ปีการศึกษา 2562) จำนวน 11 หน่วยงาน
42. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
43. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
44. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
45. มหาวิทยาลัยทักษิณ ระดับสถาบัน
46. คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
47. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
48. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
49. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
50. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
51. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
52. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รุ่นที่ 9 พ.ศ.2564 (ปีการศึกษา 2563) จำนวน 17 หน่วยงาน
53. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับสถาบัน
54. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
55. คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
56. คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
57. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
58. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
59. คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
60. คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ
61. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
62. คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
63. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
64. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
65. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
66. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
67. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
68. มหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับสถาบัน
69. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หน่วยงาน EdPEx300
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้พิจารณาคัดเลือกหน่วยงานที่ได้ดำเนินการ EdPEx200 จัดส่งรายงานการประเมินตนเอง เพื่อรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพองค์การด้วยเกณฑ์ EdPEx โดยมีหน่วยงานที่มีผลการประเมินผ่านระดับคะแนน 300 คะแนน ดังนี้
1. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ได้รับรางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class : TQC ประจำปี 2562)
2. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
(ได้รับรางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class : TQC ประจำปี 2562)
3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รุ่นที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2562
4. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รุ่นที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2563
7. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(ได้รับรางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class : TQC ประจำปี 2561)
8. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ได้รับรางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class : TQC ประจำปี 2562)
รุ่นที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2564
9. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ได้รับรางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class : TQC ประจำปี 2563)
10. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รุ่นที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2565
12. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
13. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น