EdPEx : เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ

ความรู้เกี่ยวกับ EdPEx

ที่มาของเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำ เนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx)
เกณฑ์ EdPEx เสริมพลังให้สถาบันบรรลุุเป้าหมาย ปรับปรุงผลลัพธ์ และเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน องค์กรจำนวนมากทั่วโลกใช้เกณฑ์บัลดริจเพื่อปรับปรุงและนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน องค์กรที่ได้รับรางวัลบัลดริจคือองค์กรที่่ได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบระดับประเทศ และจากการที่องค์กรเหล่านี้ได้แบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศกับหน่วยงานอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง ทำให้องค์กรจำนวนมากสามารถนำไปพัฒนาทั้งแนวทางการดำเนินการและผลลัพธ์ ส่งผลดีต่อ การเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศและโลก ในประเทศไทยได้เริ่มปรับใช้เกณฑ์บัลดริจมาเป็น เกณฑ์รางวัลคุุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการ ดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx) การพัฒนา คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) และกรอบการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model : SE-AM) รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (Hospital Accreditation : HA) สำหรับเกณฑ์ EdPEx นั้น เป็นการนำเกณฑ์บัลดริจด้านการศึกษามาปรับใช้ให้เหมาะกับ บริบทของการอุดมศึกษาไทย เพื่อให้สถาบันใช้พัฒนาการบริหารจัดการได้อย่างต่อเนื่อง สู่ความเป็นเลิศ ซึ่งจะยกระดับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันและของประเทศให้ ทัดเทียมกับนานาชาติ
เกณฑ์ EdPEx จะช่วยสถาบันของท่านได้อย่างไร
ไม่ว่าสถาบันของท่านจะเพิ่งจัดตั้งใหม่กำลังเติบโต หรือจัดตั้งมาแล้วเป็นเวลานาน ทุกแห่งจะเผชิญกับความท้าทายในทุกๆ วันและในระยะยาว ในขณะเดียวกันก็มีจุดแข็งที่ให้ประโยชน์กับสถาบันเช่นกัน เกณฑ์ EdPEx ช่วยให้ท่านค้นพบและใช้จุุดแข็งเหล่านั้นและเตรียมสถาบันให้รับมือความท้าทายที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้เกณฑ์ EdPEx ยังเอื้อให้สถาบันสามารถระบุประเด็นสำคัญดังนี้

  • สถาบันจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถแข่งขันได้และประสบความสำเร็จในระยะยาวในสภาวะแวดล้อมด้านการศึกษา
  • การทำให้ผู้นำ ผู้บริหารแต่ละระดับ และบุุคลากรทั้งหมดเห็นภาพเดียวกัน
  • การทำให้มั่นใจว่าบุคลากรเข้าใจและร่วมขับเคลื่อนสถาบันไปสู่ความสำเร็จ
  • การทำความเข้าใจและตอบสนอง หรือทำได้เหนือกว่าความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นการทำให้มั่นใจว่าการดำเนินการของสถาบันมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ความสำเร็จในระยะสั้นและระยะยาว

ประเด็นข้างต้นนี้ จะส่งผลให้สามารถวางตำแหน่งสถาบันเพื่อปฏิบัติพันธกิจให้ประสบผลสำเร็จ มีความชัดเจนขึ้น และทุกกลุ่ม(ผู้นำ บุุคลากร ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น รวมทั้งคู่คามร่วมมือที่เป็นทางการที่สำคัญ) สามารถดำเนินการไปในแนวทางที่สอดคล้องกัน

ค่านิยมและแนวคิดหลัก (ฐานความคิดความเชื่อ EdPEx)
เกณฑ์ EdPEx มีฐานคิดมาจากความเชื่อและพฤติกรรมที่พบในองค์กรที่มีผลการดำเนินงานที่ดี 11 ด้าน ดังนี

  1. มุมมองเชิงระบบ (System perspective)
  2. การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ (Visionary leadership)
  3. ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น (Student and customer centered Excellent)
  4. การให้ความสำคัญกับคน (Valuing people)
  5. การเรียนรู้ระดับองค์กรและความคล่องตัว (Organizational learning and agility)
  6. การมุ่งเน้นความสำเร็จ (Focus on success)
  7. การจัดการเพื่อนวัตกรรม (Managing for innovation)
  8. การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (Management by fact)
  9. การสร้างประโยชน์ให้สังคม(Societal contributions)
  10. จริยธรรมและความโปร่งใส(Ethics and transparency)
  11. การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์(Delivering value and results)
ข้อมูลเบื้องต้น EdPEx
EdPEx ย่อมาจาก “Education Criteria for Performance Excellence” หรือ“เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ” ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการตามแนวทางของเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA ที่เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) เกณฑ์ EdPEx คือกรอบที่ทำให้มอง/คิดและบริหารองค์กรในเชิงระบบ (มองทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด) และช่วยให้ในการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน จากจุดเน้นที่เป็นเรื่องหลักของสถาบันของเราจริงๆ

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence – EdPEx)
ใช้เกณฑ์แบบเดียวกับการประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ใช้กับระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะ เกณฑ์จะตั้งคำถามให้สถาบันพิจารณา ว่าได้ทำสิ่งเหล่านี้แล้วหรือไม่

  • มีการดำเนินงานที่เป็นระบบหรือไม่
  • นำระบบไปใช้อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ และทั่วถึงหรือไม่
  • ติดตาม ประเมินผล เพื่อพัฒนาระบบให้ดีขึ้นหรือไม่
  • ผลการปรับปรุง ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายและทิศทาง ที่มุ่งหวังหรือไม่
  • ผลลัพธ์ของการปรับปรุง สร้างความยั่งยืนได้หรือไม่

คำอธิบายจากภาพข้างต้น

โครงร่างองค์กร เป็นการบ่งบอกถึงบริบท และ อธิบาย วิธีการปฏิบัติการขององค์การ สภาพแวดล้อมการดำเนินการ ความ สัมพันธ์ที่สำคัญในการปฏิบัติการและความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นแนวทางที่ครอบคลุมระบบการจัดการ การดำเนินการองค์การโดยรวม

ระบบการปฏิบัติการ

ระบบการปฏิบัติการ ประกอบด้วย การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้า การมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้า ประกอบกันเป็นกลุ่มการนำองค์การ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญว่า การนำองค์การต้องมองเน้นที่กลยุทธ์ ผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้นำระดับสูงต้องกำหนดทิศทางขององค์การ และแสวงหาโอกาสด้านการจัดการศึกษาในอนาคต การมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์ ประกอบกันเป็นกลุ่มผลลัพธ์ โดยผู้ปฏิบัติงานและกระบวนการที่สำคัญ มีบทบาททำให้การดำเนินการสำเร็จและนำไปสู่ผลการดำเนินการโดยรวมที่ดีขององค์การการปฏิบัติการทุกอย่างมุ่งสู่ผลลัพธ์ ซึ่งประกอบด้วย ผลลัพธ์ของผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลาด งบประมาณ การเงิน และผลลัพธ์ภายในองค์การโดยรวมถึงผู้ปฏิบัติงาน การนำองค์การ ธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคม

พื้นฐานของระบบ

การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้องค์การมีการจัดการที่มีประสิทธิผล และมีการปรับปรุงผลการดำเนินการ และความสามารถในการแข่งขัน โดยระบบที่ใช้ข้อมูลจริง และองค์ความรู้เป็นแรงผลักดัน การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้นี้เป็นพื้นฐานของระบบการจัดการผลการดำเนินการโดยรวม

การประเมิน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • ประเมินกระบวนการ (มีแนวทางที่เป็นระบบ มีการถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ มีการเรียนรู้ มีการบูรณาการ)
  • ประเมินผลลัพธ์ (แนวโน้ม การเปรียบเทียบ การบูรณาการ)

คะแนนในแต่ละหมวด (รวม 1,000 คะแนน)

  • หมวด 1 การนำองค์การ 120 คะแนน
  • หมวด 2 กลยุทธ์ 85 คะแนน
  • หมวด 3 ลูกค้า 85 คะแนน
  • หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 90 คะแนน
  • หมวด 5 บุคลากร 85 คะแนน
  • หมวด 6 ระบบปฏิบัติการ 85 คะแนน
  • หมวด 7 ผลลัพธ์ 450 คะแนน
EdPEx : สถาบันจะสำรวจจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนาของตนเองใน 7 หมวด
สถาบันจะสำรวจจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนาของตนเองใน 7 หมวดที่สำคัญเพื่อบริหารจัดการและดำเนินการของทางทั้งสถาบัน
  1. การนำองค์กร : สถาบันแบ่งปันวิสัยทัศน์และนำองค์กรอย่างไรและทำให้มั่นใจถึงการกำกับดูแลสถาบันที่ดีอย่างไร
  2. กลยุทธ์ : สถาบันเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตอย่างไร
  3. ลูกค้า : สถาบันรับฟังสร้างความพึงพอใจและสร้างความผูกพันกับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นอย่างไร
  4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ : สถาบันใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ซึ่งการตัดสินใจอย่างไร
  5. บุคลากร : สถาบันสร้างความผูกพันและเพิ่มอำนาจการตัดสินใจให้แก่บุคลากรอย่างไร
  6. ระบบปฎิบัติการ : ทางสถาบันมั่นใจได้อย่างไรว่าระบบปฎิบัติการที่ใช้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลซึ่งจะทำให้สามารถจัดการศึกษาวิจัยบริการและตอบสนองต่อพันธกิจอื่นๆได้อย่างมีคุณภาพ
  7. ผลลัพธ์ : สถาบันดำเนินการได้ดีเพียงใด

ความเชื่อมโยงระหว่างเกณฑ์หมวดต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดมุมมองเชิงระบบของสถาบัน ตัวอย่างความเชื่อมโยงระหว่างกัน เช่น

  1. การเชื่อมโยงระหว่างแนวทางของสถาบันในหมวด 1 – 6 และผลลัพธ์ (หมวด 7) ที่เกิดขึ้น
  2. การเชื่อมโยงระหว่างการวางแผนบุคลากรกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์
  3. ความจำเป็นต้องมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผู้เรียนลูกค้ากลุ่มอื่นและตลาดเพื่อสร้างกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ
EdPEx-V, EdPEx 200 และ EdPEx300 คืออะไร
EdPEx V
  • เป็นการขอใช้ระบบ EdPEx ในการประกันคุณภาพการศึกษา
  • กรณีมหาวิทยาลัย/หน่วยงาน จะใช้เกณฑ์ EdPEx ให้ทำเรื่องส่งเข้าสภามหาวิทยาลัยฯ เห็นชอบการใช้ระบบ แล้วจึงส่งเรื่องมายัง สกอ. หลังจากนั้น สกอ.จะมีหนังสือแจ้งกลับมา

EdPEx 200

เมื่อมหาวิทยาลัย ใช้ระบบ EdPEx V ครบ 3 ปี หรือมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ EdPEx 200 สกอ. จะประกาศแจ้งให้ส่งผู้แทนเข้าร่วมฟังชี้แจง ในเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี เพื่อให้หน่วยงานที่มีความพร้อมและประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ ฯ จะต้องส่ง โครงร่างองค์การ (OP) ไม่เกิน 5 หน้า และผลลัพธ์ในหัวข้อ 7.1 – 7.5 ไม่เกิน 5 หน้า ภายในช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อเข้าสู่ขั้นตอน การ screening ต่อไป

EdPEx 300

หากหน่วยงานผ่านการประเมิน EdPEx 200 แล้ว หน่วยงานจะต้องพัฒนาไปถึงระดับ 300 คะแนน ภายใน 4 ปี และระหว่าง 4 ปีนั้น จะมีการลงพื้นที่ให้คำปรึกษาก่อนการประเมินระดับ 300 คะแนน

ขั้นตอนในการเลือกใช้ระบบ EdPEx เป็นระบบคุณภาพของหน่วยงานระดับคณะวิชาหรือสถาบัน

  1. ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย โดยผ่านการพิจารณาความพร้อมและความเหมาะสมในการเลือกใช้เกณฑ์ EdPEx เป็นระบบคุณภาพของหน่วยงาน
  2. จัดทำหนังสือจากสถาบัน พร้อมมติสภาที่ได้เห็นชอบตามข้อ 1 มายังสป.อว. เพื่อรับทราบการเลือกใช้ดังกล่าว
  3. ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด (Click เพื่อดูรายละเอียด)

EdPEx : คำถาม 14 ข้อที่คาใจ

Q1: ได้ยินว่า จะนำ EdPEx มาใช้กับสถาบันอุดมศึกษา แล้วจะเอา QA ไปทิ้งไว้ที่ไหน
A1: ถ้าจะตอบว่าไม่ทิ้ง ก็คงจะหงุดหงิด เรามาตั้งต้นกันอย่างนี้นะคะ QA คือ ระบบประกันคุณภาพที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่า สถาบันอุดมศึกษาต้องกำกับดูแลกันตามลำดับชั้น – สำหรับการประกันคุณภาพภายใน เกณฑ์และตัวบ่งชี้เป็นข้อกำหนดตามกฎกระทรวง – สำหรับการประกันคุณภาพภายนอก เกณฑ์และตัวบ่งชี้กำหนดโดย สมศ สถาบันอุดมศึกษายังคงต้องทำ QA ตามที่กฎหมายกำหนด และเมื่อทำ QA ไประยะหนึ่งแล้ว หากสถาบันต้องการเครื่องมือเพื่อพัฒนาคุณภาพองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและเชื่อมโยงระหว่างเรื่องที่จำเป็นที่ต้องสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน ทั้งในการวางแผน การปฏิบัติ และการติดตามผล เกณฑ์ EdPEx จะเป็นกรอบคุณภาพที่จะแก้ข้อจำกัดนี้ได้ ซึ่งเป็นไปตามความสมัครใจของผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ ไม่ใช่เกณฑ์บังคับ
Q2: EdPEx คืออะไร
A2: EdPEx ย่อมาจาก “Education Criteria for Performance Excellence” หรือ“เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ” ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการตามแนวทางของเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA ที่เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) เกณฑ์ EdPEx คือกรอบที่ทำให้มอง/คิดและบริหารองค์กรในเชิงระบบ (มองทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด) และช่วยให้ในการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน จากจุดเน้นที่เป็นเรื่องหลักของสถาบันของเราจริงๆ
แม้เกณฑ์ Baldrige จะมี 3 ฉบับ คือ ภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ภาคการดูแลสุขภาพ และภาคการศึกษา แต่ทั้ง 3 ฉบับเป็นเรื่องเดียวกัน มีหลักการต่างๆ เหมือนกันทุกประการ จะแตกต่างก็เพียงศัพท์เฉพาะสาขาเท่านั้น เช่น แทนที่จะใช้คำว่าลูกค้าเพียงอย่างเดียว ในเกณฑ์ EdPEx จะใช้คำว่า ‘ผู้เรียน’ ในหลายๆตอนด้วย สำหรับในภาคธุรกิจ ผู้รับบริการ คือ ลูกค้า ภาคสุขภาพ ผู้รับบริการ คือ ผู้ป่วย
Q3: คนไทยเราชอบเลียนแบบฝรั่ง โดยไม่ดูว่าจะเข้ากับเราได้มากน้อยแค่ไหน ในกรณีของ EdPEx นั้น เป็นการนำเกณฑ์ Baldrige มาใช้ทั้งหมดอีกแล้ว จะเหมาะกับไทยหรือไม่
A3: ต้องเรียนว่าเกณฑ์นี้ได้นำมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ ปี 2545 โดยปรับเป็นไทย และใช้ชื่อว่าเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เรามาพิจารณาที่คุณค่าของเกณฑ์กันดีกว่าค่ะ ถ้าเรื่องใดทำให้เราสามารถพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ และเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันได้อย่างก้าวกระโดด ก็อย่าไปสนใจเลยค่ะว่าได้มาอย่างไร เกณฑ์ Baldrige เป็นเกณฑ์ที่ชี้แนะว่าเรื่องไหนมีความสำคัญต่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศขององค์กร โดยจะเสนอข้อคำถามให้เราค้นหาคำตอบเอง ไม่ระบุตัวบ่งชี้ และไม่บังคับให้ต้องใช้เครื่องมือใดๆ เพราะบริบทขององค์กร/สถาบันแต่ละแห่งจะแตกต่างกันมหาวิทยาลัย/คณะ ของเราต้องมาตั้งต้นตอบคำถามด้วยกันเองว่า สถาบันของเรา มีคุณลักษณะที่สำคัญและสภาวะการณ์เชิงกลยุทธ์ของสถาบันเป็นอย่างไร เราจะกำหนดกลยุทธ์และแนวทางต่อไปอย่างไร เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ และแม้ว่าเราจะศึกษาจากรายงานของสถาบันอุดมศึกษาของต่างชาติที่ได้รางวัล หรือของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่ได้เริ่มนำเกณฑ์ EdPEx ไปใช้มาลองปรับใช้ เราก็จะพบเองว่าเรื่องของคุณภาพลอกกันเต็มๆไม่ได้ เพราะสภาพแวดล้อม จุดเด่น บุคลากร สมรรถนะหลัก ฯลฯ ของแต่ละองค์กร ไม่เหมือนกัน เกณฑ์ EdPEx นี้ จึงเหมาะกับทุกแห่งที่มีผู้นำและประชาคมซึ่งต้องการจะพัฒนาสถาบันอย่างมีระบบแบบประสานสัมพันธ์ ในทุกด้านของการจัดการอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับกำลังความสามารถ จุดเน้นและความพร้อมที่แท้จริงของตนฟังดูแล้วอาจจะยากขึ้นไปอีกนะคะ แต่ก็ต้องเรียนว่า สำหรับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาคุณภาพดำเนินมาระยะหนึ่งแล้ว อันที่จริงคือ เรามีคุณภาพในระดับหนึ่งแล้ว ทำไมเราไม่มาช่วยกันหาคำตอบเพื่อเป็นต้นแบบและทางเลือกในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งๆขึ้นไปดีกว่าไหมคะ
Q4: ถ้าใช้ EdPEx แล้ว ไม่เห็นปลายทางที่สิ้นสุด ทำให้สิ้นหวังตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำ จะทำยังไงดี
A4: การพัฒนาคุณภาพด้วยความเป็นเลิศ ไม่ว่าจะด้วยระบบใดก็ตาม เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จึงไม่มีจุดสิ้นสุดตราบใดที่เรายังทำงานอยู่ แต่องค์กรจะได้เห็นการพัฒนาของตนเองอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทำงานที่ดีขึ้น หรือผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น เมื่อเห็นแล้ว เราจะรู้สึกสนุก สนใจค้นคว้าเพิ่มเติม และสื่อสารระหว่างกันมากยิ่งขึ้น โดยจะไม่หยุดพัฒนาเอง เหมือนการท่องเที่ยวที่เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทาง แต่อยู่ที่ความสวยงามของเส้นทางที่เดินไป
การล้มเลิกตั้งแต่ต้น เท่ากับว่า เราหยุดการพัฒนาตนเองและสถาบัน ซึ่งจะทำให้สถาบันของเราถูกทิ้งห่างออกไปเรื่อยๆ เพราะมหาวิทยาลัยอื่นๆ จะมีพัฒนาการต่อเนื่อง และอาจจะทำให้ การอุดมศึกษาไทยมีโอกาสน้อยลงๆที่จะแข่งขันหรือได้รับการยอมรับจากนานาชาติได้เต็มที่อีกด้วย
Q5: สถาบันอุดมศึกษา มีหน้าที่ต้องทำวิจัยด้วย ในเกณฑ์ EdPEx ไม่เห็นพูดไว้ที่ไหนเลย
A5: นี่ละค่ะ เป็นตัวอย่างที่สำคัญมากเลย สมมติว่า มหาวิทยาลัยของเรากำหนดตัวเองว่าเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย พันธกิจที่สำคัญ 1 พันธกิจ ก็คือการวิจัยถูกไหมคะ ก็มีอยู่แล้วไง ในโครงร่างองค์กร ที่เราต้องดูต่อก็คือ เรามีความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์มากน้อยเพียงใด สมรรถนะหลักของเราคือการวิจัย หรือ ถ้าไม่ใช่ แล้วจำเป็นก็ต้องสร้าง โดยกลุ่มผู้นำต้องไปกำหนดไว้เป็นวิสัยทัศน์และสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้องในหมวด 1 กำหนดไว้เป็นแผนกลยุทธ์ ในหมวด 2 กำหนดตัวชี้วัดในหมวด 4 สร้างกระบวนการในหมวด 6 พัฒนาบุคลากร ในหมวด 5 หาลูกค้าซึ่งอาจหมายถึงผู้ให้ทุนหรือผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยในหมวด 3 และแสดงผลลัพธ์ในหมวด 7 ส่วนวิธีการจะเป็นอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จและเป็นเลิศ ตรงนี้ทุกคนในองค์กรต้องช่วยกันค่ะ สถาบันใดทำได้ดีกว่าเร็วกว่า ก็มาแบ่งปันวิธีการกัน เพื่อให้สถาบันเพื่อนๆได้แสวงหาแนวทางใหม่ๆ มาแลกเปลี่ยนกันต่อไปที่บอกว่า EdPEx ไม่ได้กล่าวถึงการวิจัย หากดูในอภิธานศัพท์ในหนังสือเกณฑ์ EdPEx คำว่า “หลักสูตร และบริการที่ส่งเสริมการเรียนรู้” ได้รวมถึงการวิจัยด้วย แต่มหาวิทยาลัยจะให้น้ำหนักเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละสถาบันนี่คือตัวอย่างที่ดีของความหมายของคำว่าบริบท เกณฑ์ EdPEx จะไม่กำหนดว่า เรื่องใดเป็นหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา อยู่ที่ผู้นำไปใช้ที่จะพิจารณาเองว่า ในสถาบันของตนนั้น มีพันธกิจสำคัญด้านใด และเป็นเรื่องที่ตกลงกันเองในสถาบัน ถ้าเห็นว่า มหาวิทยาลัยของเราต้องเน้นด้านวิจัยอย่างมาก เพื่อให้โดดเด่นขึ้นหรือเพื่อให้ทุกคนเพิ่มความสำคัญและมุ่งงานด้านวิจัยให้มากขึ้น มหาวิทยาลัย/คณะของเราเองจะต้องกำหนดให้ชัดขึ้น ตามแนวคิดที่เราอยากทำและอยากเน้น
Q6: ทำให้เกณฑ์ EdPEx เข้าใจง่ายขึ้นกว่านี้ได้หรือไม่
A6: เคยมีผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพบอกไว้ว่า คุณภาพไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง ถ้าเป็นหลักธรรมก็ต้องปฏิบัติค่ะ จึงจะรู้แจ้ง การรวมกลุ่มกันลงมือทำเอง ความจริงอยากจะเรียกว่า ศึกษาร่วมกัน แลกเปลี่ยนถกแถลงกัน จะทำให้ยิ่งเข้าใจได้ลึกซึ้งขึ้นและคงต้องอ่าน ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยคู่กันไป ถ้ายังไม่เข้าใจตรงจุดไหน ก็อาจจะอ่านเอกสารเพิ่มเติมจากองค์กรที่ได้รับรางวัลที่จะให้แนวปฏิบัติซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นที่จริง มีความพยายามอยู่เหมือนกัน แต่คงร่วมมือกันที่จะช่วยกันรวบรวมและเขียนตัวอย่างต่างๆ เพื่อประกอบกับหมวด/หัวข้อในเกณฑ์ ซึ่งน่าจะช่วยได้อีกทางหนึ่ง
Q7: ไม่ชอบเลยที่ในเกณฑ์ EdPEx ใช้คำว่า ‘ลูกค้า’ แทนที่จะเรียกว่า ‘ผู้เรียน’
A7: หากดูในอภิธานศัพท์ในหนังสือเกณฑ์ EdPEx คำว่า”ลูกค้า” หมายถึง ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสถาบัน เช่น คู่ความร่วมมือ ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สถาบันมีมุมมองที่กว้างขึ้น เมื่อจะกำหนดหลักสูตรหรือจัดการเรียนการสอน จะต้องตอบสนองต่อความต้องการและสร้างความสัมพันธ์กับใครบ้างสำหรับผู้ที่ “แพ้” คำว่า “ลูกค้า” เรื่องนี้อาจต้องทำใจ คิดเสียว่า เป็นศัพท์อีกคำที่เตือนใจว่า หน้าที่ของเราที่มีต่อผู้เรียนนั้น มีความหมายที่เพิ่มจากความเข้าใจเดิมในอดีตที่ให้คุณค่าของความลึกซึ้งของคำว่า ‘ครู’ และ ‘ลูกศิษย์’ เมื่อมีทุนนิยมเข้ามาเกี่ยวข้อง มีเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนนักศึกษา และบุคลากร และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่รวดเร็ว พฤติกรรมของผู้เรียนในปัจจุบัน ก็ย่อมมีความแตกต่างไปได้ ซึ่งอาจต้องพิจารณาว่าเป็นบทบาทของคณาจารย์สมัยใหม่ใช่หรือไม่ ที่ต้องสร้างจิตสำนึกของการเคารพความเป็น ‘ครูอาจารย์’ และที่แน่ๆ ต้องเป็นตัวอย่างของคนคุณภาพ เพื่อให้เกิดการยอมรับและเคารพยกย่อง เพราะไม่ใช่สิ่งที่ได้มาโดยอัตโนมัติอีกต่อไป
Q8: ไม่ชอบการใช้คำว่า “คู่แข่ง” ทางด้านการศึกษา เกรงว่าจะสร้างบรรยากาศการไม่ให้ความร่วมมือ
A8: เป้าหมายของการใช้คำว่า “คู่แข่ง” เพื่อให้มีการเปรียบเทียบในการพัฒนาหรือแข่งกันทำดี รวมถึงการหาแนวปฏิบัติและผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ แต่หากไม่ชอบจริงๆ อาจจะใช้คำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น “คู่เทียบเคียง” และการใช้ข้อมูลและสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ อาจเป็นข้อมูลจากองค์กรภายนอกวงการศึกษาก็ได้
Q9: ทำไมต้องตอบทุกหมวดทุกข้อ
A9: ใครว่า! ไม่มีความจำเป็นเลย จริงๆแล้วไม่ต้องตอบทุกหมวดก็ยังได้ เลือกเอาเฉพาะที่เห็นว่ามีความสำคัญและจะช่วยพัฒนาองค์กรไปอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการจะพัฒนาสถาบันให้เป็นเลิศ สุดท้ายแล้วก็ต้องประเมินตนเองจนครบทุกหมวด เพื่อทำแผนปรับปรุงสำหรับผู้เริ่มแรก อย่าเริ่มด้วยความพยายามที่จะตอบคำถามย่อยทุกคำถาม แต่ควรเริ่มจากความพยายามเข้าใจสถาบันของตนเอง เมื่อยังไม่ค่อยเข้าใจ ก็อาจจะเริ่มจากการถกเถียงและหาคำตอบร่วมกันจากคำถามหลักๆ ในแต่ละหมวด โดยอิงกับข้อมูลในหน้า 58 เช่น ในหมวด 1.1 ลองตอบคำถามตามลำดับความซับซ้อนดังนี้
1.เมื่อยังเพิ่งเริ่มใช้เกณฑ์ ตอบคำถามว่า ผู้นำระดับสูงนำสถาบันอย่างไร ซึ่งเป็นคำถามที่ปรากฏต่อจากหัวข้อ 1.1 ที่ตามเกณฑ์ EdPEx เรียกว่า ‘ข้อกำหนดพื้นฐาน’
2.พอเริ่มเข้าใจและมีข้อมูลในสถาบันที่ชัดเจนขึ้น ตอบคำถามว่า ให้อธิบายถึงกระทำโดยผู้นำระดับสูง ในการชี้นำและทำให้สถาบันมีความยั่งยืน รวมทั้งอธิบายวิธีการที่ผู้นำระดับสูงสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงาน และส่งเสริมให้มีผลการดำเนินการที่ดียิ่งขึ้น ที่ตามเกณฑ์ EdPEx เรียกว่า ‘ข้อกำหนดโดยรวม’
3.เมื่อเชี่ยวชาญขึ้น จึงเริ่มตอบในรายละเอียด ตามข้อ ก ข้อ ข………. ที่ตามเกณฑ์ EdPEx เรียกว่า ‘ข้อกำหนดต่างๆ ที่เป็นคำถามในแต่ละประเด็นเพื่อพิจารณา’ ซึ่งในหมวด 1.1 คือคำถามเช่น
ก. วิสัยทัศน์ ค่านิยม และพันธกิจ
(1) ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการกำหนดวิสัยทัศน์ และค่านิยมของสถาบัน และถ่ายทอดวิสัยทัศน์ และค่านิยมดังกล่าวโดยผ่านระบบการนำสถาบันไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน คู่ความร่วมมือ…………………………….. การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อค่านิยมของสถาบันอย่างไร
Q10: ต้องเขียนเป็นเล่มๆหรือไม่
A10: ไม่จำเป็นเลยค่ะ วัตถุประสงค์ของโครงการนำร่องนี้ ไม่ใช่การมีรายงานส่ง ดังนั้นอาจเพียงสรุปเป็นข้อความสั้นๆ ที่เข้าใจง่ายก็เพียงพอ หรือเขียนเป็นข้อๆ เพื่อไว้เตือนตนเองว่าขณะนี้เราอยู่ที่ใด และจะต้องพัฒนาตนเองไปในทิศทางใด เรื่องอะไรบ้าง
เกณฑ์ EdPEx นี้ใช้เพื่อการประเมินตนเอง เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือความเข้าใจ ‘ตัวตน’ ที่แท้จริงของสถาบันของเรา เพื่อจะได้พัฒนา ปรับปรุง และมุ่งสู่ทิศทางที่ถูกต้องที่สุดเท่าที่เราสามารถระบุและกระทำได้ ถ้ามีข้อมูลและประเด็นที่เราคิดว่า จำเป็นต้องรู้ ต้องบันทึกเพื่อให้เข้าใจตรงกันและเพื่อทำงานด้วยกันในทิศทางเดียวกัน ก็ควรจะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยไม่จำเป็นต้อง ‘ประพันธ์’ ยืดยาว ซึ่งอาจจะมีแต่ ‘น้ำ’ มากกว่า ‘เนื้อ’ และเสียเวลาเปล่าๆ แต่ถ้าไม่เขียนก็จะลืม แล้วก็มาตั้งต้นใหม่อีกนะคะ
Q11: ทำไมเกณฑ์ EdPEx ไม่กำหนดตัวบ่งชี้ หรือระบุวิธีการตอบคำถามให้ชัดๆว่า คำตอบไหนเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
A11:ความสำเร็จและความเป็นเลิศน่าจะแปรตามอัตลักษณ์ขององค์กรนะคะ จริงอยู่ ตัวบ่งชี้พื้นฐานบางตัว อาจเป็นตัวเดียวกันในทุกองค์กร ลองถามตัวเองดูว่าเคยหงุดหงิดบ้างไหม เวลามีใครมาสั่งให้เก็บ/รายงานตัวนั้นตัวนี้ ทั้งๆที่ตัวบ่งชี้เหล่านั้นไม่ได้แสดงความสำเร็จขององค์กรเลย ทีเรื่องที่เราเก่งกลับไม่ถาม เช่น ถามว่าเงินทุนวิจัยภายในภายนอกเพิ่มขึ้นไหม ความจริง ภายนอกน่าจะเพิ่มขึ้น ภายในน่าจะลดลง เพราะแสดงถึงศักยภาพในการแสวงหาทุน ก็เห็นบ่นๆกันอยู่ ตอนนี้ได้คิดเองแล้วละค่ะ ว่าอยากแสดงอะไร ที่สื่อความสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ แล้วถ้าไม่มีใครในบ้านเราทำเรื่องนี้ ก็ลองหาข้อมูลเปรียบเทียบกับ idol ของเรา ก็ย่อมได้นะคะ เหมือนแข่งกีฬาไงคะ จากกีฬามหาวิทยาลัยในบ้านเป็นกีฬามหาวิทยาลัยโลกไง การดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ไม่ใช่การให้คำตอบหรือการกำหนดให้ทำตาม ตัวบ่งชี้ เรื่องนี้จึงอาจขัดใจคนหลายกลุ่มที่เคยชินกับการได้รับคำสั่งชัดเจน คนในสถาบันต้องสร้างความเคยชินขึ้นใหม่โดยร่วมกันคิดหา ตัวบ่งชี้เอง เพราะการมีบริบทของแต่ละองค์กรแตกต่างกัน ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะมีตัวบ่งชี้เหมือนกันทุกตัวหมดทุกแห่ง อย่างไรก็ตาม อาจจะมีตัวบ่งชี้ร่วม บางด้านในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาได้ เช่น อัตราการมีงานทำ ของบัณฑิต ซึ่งแม้แต่ในเรื่องนี้ บางสถาบันก็อาจจะเห็นว่า ไม่แม่นตรงกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของตนเต็มที่ที่มุ่งสู่ความเป็นอาเซียน โดยอาจกำหนดว่า อัตราการมีงานทำของบัณฑิตต้องเป็นไปตามสายงานในบริษัทข้ามงานในอาเซียน ก็ย่อมได้ เป็นต้น
Q12: การนำ EdPEx มาใช้จะเป็นการเพิ่มภาระให้กับมหาวิทยาลัยหรือไม่
A12: เป็นคำถามที่ผู้ถามรู้คำตอบอยู่แล้วค่ะ แต่ต้องคิดให้ดีว่าคุ้มที่จะลงทุนไหม มีงานใหม่ตั้งหลายอย่างที่เรารับทำโดยไม่รู้ที่มาที่ไป และยังมองไม่เห็นอนาคต ก้มหน้าก้มตาทำไปเรื่อยๆ ถ้าทำสิ่งที่คิดแล้วว่าจะทำให้มหาวิทยาลัย ที่เราเป็นสมาชิกพัฒนาได้เร็วขึ้น ดีขึ้น ถ้าไม่ช่วยกันทำ ขณะที่คนอื่นเดินไปข้างหน้า เราคงไม่เพียงแต่หยุดนิ่ง แต่เดินถอยหลังค่ะ แล้วก็อย่ามองเฉพาะรอบๆตัว มองให้ไกลไปสู่ระดับสากลด้วยนะคะ เพราะเกณฑ์ EdPEx ช่วยชี้นำให้สถาบันทำในสิ่งที่เป็นพันธกิจอย่างมีคุณภาพ โดยมองถึง‘สิ่งที่วาดหวัง’ กำลังความสามารถและสิ่งที่ท้าทายของสถาบันทั้งจากภายในและภายนอก ซึ่งจะครอบคลุมเรื่องหลักๆ ทั้งการประเมินคุณภาพภายในและภายนอก ซึ่งหากสถาบันอุดมศึกษาจัดระบบสารสนเทศที่จะเอื้อต่อการประกันคุณภาพในรูปแบบต่างๆได้ ก็จะช่วยให้ประชาคมของสถาบันสามารถดำเนินการตามข้อกำหนดได้สะดวกขึ้น
Q13: ทำไมไม่ส่งเสริมให้สมัครขอรับรางวัล
A13: โครงการนำร่องโดยใช้เกณฑ์ EdPEx นี้ เน้นให้สถาบันได้ประเมินตนเองอย่างตรงไปตรงมา เพื่อวางแผนพัฒนาสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด ซึ่งมีความหมายมากกว่าการประเมินเพื่อรับรางวัล แต่หากสถาบันใดคิดว่าพัฒนาตนเองถึงระดับหนึ่ง ก็อาจสมัครเข้ารับรางวัลคุณภาพแห่งชาติได้
Q14: จะได้อะไรจากการใช้ EdPEx ต่อเนื่อง
A14: หากใช้เกณฑ์ EdPEx อย่างเข้าใจและต่อเนื่อง โดยประสานกับทุกระดับได้อย่างดี จะทำให้เกิดการสื่อสารที่ดี ผู้นำและบุคลากรมีความสุขในการทำงานและต่อยอดความรู้ต่อเนื่อง เกิดความภูมิใจที่ได้รับรู้ภาพรวมของมหาวิทยาลัยและร่วมเป็นกำลังสำคัญของสถาบันของตนอย่างเต็มที่ เต็มใจ ทุกจุด มีการพัฒนาตนเองทั้งผู้นำ บุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเข้ามาศึกษาในสถาบัน รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เช่น ผู้ใช้บัณฑิต พ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชน โรงเรียนที่เป็นผู้ป้อนนักเรียนให้สถาบัน คู่ความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น พลังการประสานสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ จะสามารถทำให้สถาบันอุดมศึกษาไปสู่การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืนด้วยความสามารถของทุกคนในประชาคมเป็นแกนสำคัญ

หน่วยงาน EdPEx200

สถาบันอุดมศึกษาและคณะวิชาที่มีความพร้อมและมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพไปสู่ความเป็นเลิศ ที่ผ่านกระบวนการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วม"โครงการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน EdPEx 200" ดังนี้

รุ่นที่ 1 พ.ศ.2556 (ปีการศึกษา 2555) จำนวน 3 หน่วยงาน
1. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบารามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รุ่นที่ 2 พ.ศ.2557 (ปีการศึกษา 2556) จำนวน 3 หน่วยงาน
4. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รุ่นที่ 3 พ.ศ.2558 (ปีการศึกษา 2557) จำนวน 2 หน่วยงาน
7. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รุ่นที่ 4 พ.ศ.2559 (ปีการศึกษา 2558) จำนวน 4 หน่วยงาน
9. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับสถาบัน
10. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
12. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รุ่นที่ 5 พ.ศ.2560 (ปีการศึกษา 2559) จำนวน 6 หน่วยงาน
13. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
15. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
16. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
17. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
18. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รุ่นที่ 6 พ.ศ.2561 (ปีการศึกษา 2560) จำนวน 12 หน่วยงาน
19. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
21. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
22. วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
23. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
24. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
25. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
26. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
27. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
28. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
29. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
30. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

รุ่นที่ 7 พ.ศ.2562 (ปีการศึกษา 2561) จำนวน 11 หน่วยงาน
31. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
32. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
33. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
35. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
36. ระดับสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
37. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
38. คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
39. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
40. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
41. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รุ่นที่ 8 พ.ศ.2563 (ปีการศึกษา 2562) จำนวน 11 หน่วยงาน
42. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
43. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
44. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
45. มหาวิทยาลัยทักษิณ ระดับสถาบัน
46. คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
47. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
48. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
49. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
50. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
51. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
52. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รุ่นที่ 9 พ.ศ.2564 (ปีการศึกษา 2563) จำนวน 17 หน่วยงาน
53. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับสถาบัน
54. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
55. คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
56. คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
57. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
58. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
59. คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
60. คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ
61. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
62. คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
63. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
64. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
65. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
66. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
67. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
68. มหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับสถาบัน
69. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ที่มา : http://www.edpex.org/p/edpex200.html

หน่วยงาน EdPEx300

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้พิจารณาคัดเลือกหน่วยงานที่ได้ดำเนินการ EdPEx200 จัดส่งรายงานการประเมินตนเอง เพื่อรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพองค์การด้วยเกณฑ์ EdPEx โดยมีหน่วยงานที่มีผลการประเมินผ่านระดับคะแนน 300 คะแนน ดังนี้

รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2561
1. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ได้รับรางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class : TQC ประจำปี 2562)
2. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
(ได้รับรางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class : TQC ประจำปี 2562)
3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รุ่นที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2562
4. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รุ่นที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2563
7. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(ได้รับรางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class : TQC ประจำปี 2561)
8. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ได้รับรางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class : TQC ประจำปี 2562)

รุ่นที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2564
9. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ได้รับรางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class : TQC ประจำปี 2563)
10. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รุ่นที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2565
12. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
13. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ที่มา : http://www.edpex.org/p/edpex300.html