ระบบติดตามการพัฒนาคุณภาพภายใน (IQA-CDS)

ระบบติดตามการพัฒนาคุณภาพภายใน (IQA-CDS) ”

ระบบติดตามการพัฒนาคุณภาพภายใน (IQA-CDS) คือระบบติดตามการพัฒนาคุณภาพภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ซึ่งเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นตามรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา RMUTP Model เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

IQA-1

ระบบ IQA-CDS เป็นเครื่องมือที่มหาวิทยาลัยนำมาช่วยในการประกันคุณภาพการศึกษา ตั้งแต่ขั้นตอนการดำเนินงาน ควบคุม กำกับติดตาม ตรวจสอบประเมิน และการปรับปรุงพัฒนา โดยระบบ IQA-CDS ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา  ทั้งส่วนผู้ปฏิบัติงานประกันคุณภาพ หัวหน้างาน และผู้บริหาร

IQA-2

ระบบ IQA-CDS เป็นเครื่องมือที่ช่วยเก็บข้อมูลผลการดำเนินงาน ข้อมูลหลักฐาน ข้อมูลพื้นฐาน CDS (พัฒนาเพิ่มในปีการศึกษา 2556) งานประกันคุณภาพศึกษา มีระบบตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลระหว่างหน่วยงานระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ระบบ IQA-CDS จะประมวลผลข้อมูลและนำเสนอสารสนเทศ (report) ตามรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา RMUTP Model เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ควบคุม กำกับติดตาม ตรวจสอบ และช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร ระบบประกันคุณภาพการศึกษา RMUTP Model จะดำเนินการควบคุม กำกับติตาม การตรวจสอบ  3 รอบ (รอบ 4 8 12 เดือน) โดยใช้ระบบ IQA-CDS เป็นเครื่องมือช่วย และจัดประชุมรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ IQA-CDS รอบ 8 และ 12 เดือน และนำผลการประเมินแต่ละรอบไปพัฒนาปรับปรุงในรอบถัดไป ระบบ IQA-CDS  สามารถรองรับระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา CHE QA Online System (สกอ.)

IQA-3

ส่วนที่ 1 ส่วนบันทึกผลดำเนินงาน เป็นฟังก์ชั่นในการบันทึกผลการดำเนินงานประกันคุณภาพ

ส่วนที่ 2 ส่วนเก็บข้อมูลหลักฐาน เป็นฟังก์ชั่นในการเก็บข้อมูลหลักฐานประกอบต่างๆ ประกอบตัวบ่งชี้

ส่วนที่ 3 ส่วนบันทึกผลข้อมูลพื้นฐาน CDS เป็นฟังก์ชั่นเกี่ยวข้อมูลพื้นฐานมหาวิทยาลัยจะประกอบด้วยข้อมูลหน่วยงานระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะ ฟังก์ชั่นนี้จะมีระบบตรวจสอบข้อมูลหน่วยงานระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง

ส่วนที่ 4 ส่วนรายงานผล Report เป็นส่วนที่นำเสนอข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น report ต่างๆ เพื่อใช้วิเคราะห์ กำกับติดตาม ตรวจสอบ และช่วยในการตัดสินใจดำเนินการต่อไป ซึ่งรูปแบบรายงานจะพัฒนาตาม RMUTP Model นำเสนอที่เข้าใจง่ายชัดเจนโดยสัญลักษณ์ไฟสีต่างๆ สามารถนำไปประกอบจัดทำเล่มรายงานประเมินตนเอง SAR และบันทึกเข้า CHE QA Online (สกอ.)